DSCN0263ชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนทุนญี่ปุ่น “ด้านการบริหาร”
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ The Oversea Human Resources and Development Association(HIDA) ที่พิจารณาและมอบทุนให้ ซึ่งเป็นการเข้าอบรมในหลักสูตร ด้านการบริหารจัดการ จำนวนระยะเวลาทั้งสิ้นคือ 17 วัน เพื่อเข้าไปเรียนต่อในโครงการ MTP (Management Training Program) trainer หรือพวกเราคนไทยอาจจะคุ้นกับคำว่า Train-The-Trainer และ โดยมีโอกาสเข้าอบรมที่ KKC เมืองโอซากาประเทศญี่ปุ่น สำหรับทุนนี้มีผู้ได้รับทุนทั้งสิ้น 16 คนจากหลายประเทศ คือ จาก ประเทศบังคลาเทศ ประเทศกัมพูชา ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศมองโกลเลีย ประเทศพม่า ประเทศปากีสถาน ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเซาท์แอฟริกา ประเทศเวียดนามและประเทศไทย เป็นการเรียนรู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด เพราะไม่เพียงแต่การได้รับความรู้จากอาจารย์ผู้สอนแล้วยังได้รับโอกาสในการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของชนชาติต่างๆ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้

บรรยากาศการใช้ชีวิตที่เมืองโอซากาประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลา 17 วันนั้น เป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก ได้เรียนรู้ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นวิถีความเป็นอยู่ของคนญี่ปุ่น การเรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อร่วมชั้นเรียนจากนานาประเทศ รวมถึงเรื่องของเนื้อหาวิชาการที่เข้มข้น เพื่อฝึกผู้เข้าเรียนให้เป็นวิทยากรมืออาชีพด้านการบริหารจัดการ

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 127 ล้านคน พื้นที่ส่วนใหญ่นั้นจะเป็นเกาะและความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 1,500 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีเพียง 50 คน ต่อตามรางกิโลเมตร แต่ถ้าเทียบเรื่องผลผลิตนั้น ประเทศญี่ปุ่นสามารถที่จะสร้างผลผลิตได้มากถึง 16.9 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตารางกิโลเมตร แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะสร้างผลผลิตได้เพียง 0.8 ล้านเหรียญสหรัฐต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งก็แสดงว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นสามารถที่จะสร้างผลผลิตต่อหน่วยได้มากกว่าประเทศสหรัฐอเมริกามาก ซึ่งพื้นที่ที่แพงที่สุดอยู่ที่กินซ่า ในเมืองโตเกียวที่ราคาค่าที่ดินนั้นอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐต่อตารางเซนติเมตร ค่าครองชีพที่สูง คนญี่ปุ่นถึงเห็นคุณค่าเรื่องของเวลามาก ๆ เช่น รถไฟหัวกระสุนที่หลายคนรู้จักดีในนามของรถไฟชิงกันเซ็นนั้นจะช้าเพียง 1 นาทีก็รับไม่ได้ คนญี่ปุ่นจึงตรงเวลามาก ๆ เรื่องนี้น่าจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนไทย

ความท้าทายของประเทศญี่ปุ่นในขณะนี้คือการที่จะต้องทำให้สภาพแวดล้อมทุกอย่างรวมถึงสภาพจิตใจ กลับคือสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดจากเรื่องของแผ่นดินไหวและการเกิดซึนามิเมื่อไม่นานมากนี้ อัตราการเกิดของเด็กลดน้อยลง ซึ่งเป็นผลทำให้แรงงานญี่ปุ่นกำลังจะขาดแคลนในอนาคตอันใกล้นี้ อีกทั้งเรื่องของหนี้สาธารณะที่สูงเพิ่มมากขึ้นและประการสุดท้ายคือเรื่องของการปรับมาตรฐานของสินค้าให้เป็นมาตรฐานที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เพราะในอดีตนั้นสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นจะไม่สามารถนำมาใช้ร่วม กับประเทศอื่น ๆ ได้ การเปลี่ยนไปในประเทศญี่ปุ่นที่จะมีผลต่อชาวโลกนี้ เพื่อการที่จะกลับมาผงาดอีกครั้งในเวทีโลก ประเทศญี่ปุ่นยังจะมุ่งเน้นในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสังคมที่ดีขึ้น การใช้พลังงานที่นำกลับมาใช้ได้อีก การใช้วัสดุใหม่ ๆ ทดแทนวัสดุแบบเดิม เช่นการนำ Carbon Nano มาใช้แทนวัสดุแบบเดิม ๆ การสร้างโอกาสในการซื้อของปัจจัยสี่ที่เพิ่มมากขึ้น และสร้างรูปแบบของสังคมที่มีเงินและสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่หนักอึ่งอีกประการคือการที่มีคนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น คนรุ่นใหม่มีบุตรน้อยลง ทำให้ญี่ปุ่นเองพิจารณาที่จะให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานเพิ่มมากขึ้น

1)      เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่ามีการบริหารจัดการที่ดีมาก มีการบริหารตั้งแต่องค์กรจนถึงเรื่องของความเป็นอยู่ ซึ่งคนญี่ปุ่นเป็นคนที่สุภาพมาก ๆ เคารพผู้อื่น ตรงต่อเวลาและมีความซื่อ สัตย์สูงมาก ตังอย่างที่เห็นได้ชัดคือตอนที่ไปดูงานที่โรงงานไฟฟ้า The Kansai Electric Power Co.,Ltd. เป็นโรงงานที่มุ่งเน้นเรื่อง การบริหารจัดการ มาเป็นเรื่องแรก และการให้ มีการบริการที่เป็นเยี่ยม สังเกตได้จากการที่พนักงานที่ออกมาต้อนรับนั้นเป็นสุภาพสตรี 2 ท่าน แต่งกายด้วยเครื่องแบบเต็มยศ ยืนคำนับตั้งแต่รถบัสที่นำคณะมาดูงานเลี้ยวเขาเขตบริเวณโรงงาน และเช่นเดียวกันเมื่อดูงานเสร็จ นอกจากสุภา