หลักสูตร เทคนิคการสัมภาษณ์

Interview Techniques

เทคนิคการสัมภาษณ์

 

คุณเคยเผชิญปัญหาเช่นนี้หรือไม่?

  • ไม่ได้คนที่ปรารถนาในการเข้าทำงานทั้ง ๆ ที่ผ่านการสัมภาษณ์งานแล้ว
  • ตอนสัมภาษณ์งาน กับตอนเข้ามาทำงานมีพฤติกรรมไม่ตรงกับตอนสัมภาษณ์งาน
  • การตั้งคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์เป็นรูปแบบเดี่ยวกัน
  • กระบวนการในการวัดผลการสัมภาษณ์ไม่มีความเหมาะสมทำให้ได้คนไม่เหมาะสมมาทำงาน
  • เมื่อรับผู้สมัครเข้ามาทำงาน ไม่ทราบว่าจะวางโปรแกรมในการพัฒนาผู้สมัครให้เรียนรู้และเติมโตไปกับองค์กรได้อย่างไร

การสรรหาบุคลาการเป็นเครื่องมือที่สำคัญในงานการบริหารบุคคล เพราะการที่มีวิธีการสรรหาที่ดี ย่อมทำให้มีโอกาสได้คนที่มีความเหมาะสมในการทำงานให้องค์กร ซึ่งการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำให้ได้คนที่เหมาะสมต่อตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ ซึ่งการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้คนที่ดีเข้าทำงานนั้น มีการสัมภาษณ์แบบปกติที่ทำกันอยู่ทั่วไป และ การสัมภาษณ์ตามพฤติกรรมของการทำงาน ซึ่งการสัมภาษณ์นั้นไม่มีความแตกต่างของการสัมภาษณ์แบบปกติที่ทำกันอยู่ทั่วไป และ การสัมภาษณ์ตามพฤติกรรมของการทำงาน ในกระบวนการของการสัมภาษณ์งานตั้งแต่การนัดหมายให้ผู้สมัครงานเข้ามาพบ การเริ่มต้นกระบวนการของการสัมภาษณ์ แต่ความแตกต่างจะอยู่ที่ประเภทของคำถาม ที่จะให้เพื่อให้ได้คนที่มีความเหมาะสมต่องานนั้น ๆ

การสัมภาษณ์งานตามพฤติกรรมหรือที่เรียกว่า Behavioral Based Job Interview เป็นการสัมภาษณ์เพื่อเปิดเผยถึงการปฏิบัติงานในอดีตของผู้สมัครเป็นเช่นไรเพื่อนำมาใช้ในการพยากรณ์พฤติกรรมหรือผลงานของผู้สมัครในอนาคตหรือหลังจากที่รับเข้ามาทำงาน

หัวใจสำคัญของการสัมภาษณ์งานแบบเดิม ๆ คือการสร้างชุดคำถามที่เป็นรูปแบบไว้ เช่นการถามจุดอ่อน จุดแข็งของผู้สมัครหรือความท้าทายอะไรบ้างที่ผู้สมัครเผชิญในการทำงาน ซึ่งการถามที่เป็นชุดคำตอบ ทำให้ผู้สมัครสามารถที่จะคาดเดาคำตอบที่ทำให้ตรงใจคณะกรรมการสัมภาษณ์  แต่การสัมภาษณ์งานแบบสำรวจพฤติกรรม Behavioral Based Job Interview เป็นการสัมภาษณ์พฤติกรรมที่สำคัญในอดีตเพื่อที่จะสอบถามถึงแนวคิด ว่าผู้สมัครมีแนวคิดหรือความสามารถที่จำเป็นในการทำงานหรือไม่ ซึ่งลักษณะคำถามที่จะสะท้อนภาพในการทำงานในอดีต เพื่อเป็นแนวทางของผลงานในอนาคตของผู้สมัคร

หลักสูตร Behavioral Based Job Interview ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถที่จะสร้างชุดคำถามให้มีความเหมาะสมในการค้นหาพฤติกรรมของผู้สมัคร ทำให้ได้บุคคลที่ตรงกับงานตรงกับความคาดหวังในการทำงานขององค์กรนั้น ๆ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เข้าใจความแตกต่างระหว่างการสัมภาษณ์งานปกติกับการสัมภาษณ์งานแบบการศึกษาพฤติกรรม
  2. เข้าใจกระบวนการของการตั้งคำถามให้ตรงแนวทางของการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
  3. เข้าใจเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อนำมาสร้างชุดคำถามเชิงพฤติกรรม
  4. เรียนรู้ลักษณะของผู้สมัครที่ องค์กรคาดหวังเพื่อเชื่อมโยงคำถามเชิงพฤติกรรม
  5. สามารถฝึกปฏิบัติและนำไปใช้ในการทำงานจริง

 ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมจะได้รับ-ผู้เรียนจะสามารถ:

  • เข้าใจในความสำคัญในการนำ การสัมภาษณ์ตามแนวพฤติกรรมมาใช้ในการสรรหา
  • มีแนวคิดในการสรรหาคน ให้มีความเหมาะสมเพื่อการทำงาน
  • เข้าใจกระบวนการของการสรรหาคนตามแนวคิดใหม่ของหลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  • ทำให้พนักงานที่มีพฤติกรรมสอดคล้องต่อการทำงาน
  • มีแนวคิดใหม่ ๆ ในการสร้างคำถามเพื่อสำรวจพฤติกรรมของผู้สมัคร
  • เพื่อพัฒนาแนวคิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและนำไปปฏิบัติใช้ได้

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน ซุปเปอร์ไวเซอร์ ผู้ประกอบการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง พนักงานทุกระดับ พนักงานฝ่ายการบริหารทั่วไป เพื่อเป็นการเข้าใจแนวความคิดใหม่ในการขบริหารทรัพยากรมนุษย์ ผู้สนใจทั่วไป

 ระยะเวลาการจัดสัมมนา

เพื่อให้ครอบคลุม ถึงเนื้อหา สาระของเนื้อหาทางวิชาการ และ การปฏิบัติการ(Workshop) ระยะเวลาในการอบรมมีระยะเวลา 1 วันเต็ม

แนวคิดด้านการออกแบบหลักสูตร

1.พฤติกรรมการแสดงออกภายนอก ส่งผลมาจากปัจจัยภายในของผู้สมัคร

2.พฤติกรรมที่มาจากสังคม สามารถที่จะการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ตามแนวทางในการพัฒนาบุคลการ ทำได้ไม่ยาก

3.พฤติกรรมที่มาจากภายในตนเอง มาจากประสบการณ์ ความเชื่อ เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องใช้

4.พฤติกรรมที่มาจากความเป็นตัวตนของตนเอง ที่สะสมมานาน เป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ยากหรืออาจเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย

หัวข้อในการฝึกอบรม

วันที่ 1 : เตรียมตัวและวางแนวทางขอข้อมูลเพื่อการสร้างเครื่องมือในการสัมภาษณ์

  • ความสำคัญในการสัมภาษณ์งานเพื่อการสรรหา
  • กระบวนการของการสรรหาเพื่อให้ได้พนักงานตามที่องค์กรคาดหวัง
  • องค์ประกอบของการสรรหาผ่านกระบวนการของการสัมภาษณ์งาน
  • ข้อแตกต่างระหว่างการสัมภาษณ์งานแบบเดิมกับการสัมภาษณ์งานตามพฤติกรรม
  • การศึกษา Competency ของแต่ละตำแหน่งงาน เพื่อการวางแนวทางของความคาดหวัง
  • การเตรียมการก่อนการสำหรับผู้สัมภาษณ์งานเพื่อสร้าง ความคิดเชิงระบบเพื่อสร้างความคิดเชื่อมโยง ก่อนการสัมภาษณ์
  • เกณฑ์ในการใช้คุณสมบัติเบื้องต้นในการประกาศ การวางแนวทางการประกาศหางานเพื่อสร้างคำถามในการสัมภาษณ์
  • การค้นหาพฤติกรรมเป้าหมายของผู้สมัครเพื่อการวางแนวการสัมภาษณ์
  • ฝึกปฏิบัติ จัดทำ Workshop และนำเสนอ

ผลที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ หลังการเข้าอบรมช่วงเช้า-ผู้เรียนจะสามารถ:

  • เข้าใจความสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
  • มีลำดับและขั้นตอนเพื่อเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม
  • การจัดเตรียมพฤติกรรมที่องค์กรคาดหวังในแต่ละตำแหน่ง
  • ทบทวน Competency กับพฤติกรรมที่องค์การคาดหวัง

ช่วงบ่าย การนำเครื่องมือที่ใช้ในการสัมภาษณ์งานเชิงพฤติกรรม

  • ศึกษาประเภทหรือบุคลิกลักษณะของผู้สมัครงาน
  • ประเภทของเครื่องมือที่ต้องนำมาใช้ในการตั้งคำถาม
  • การสร้าง Flow ของเครื่องมือในการสร้างการเชื่อมโยง
  • การค้นหา S-T-A-R ในกลุ่มผู้สมัครเพื่อให้ได้ “คนที่ใช่ ได้คนที่ดี มีความเหมาะสมต่อองค์กร”
  • การค้นหาข้อเท็จจริงในการตอบคำถามของผู้สมัคร หลักวิธีการเชื่อมโยงคำถาม
  • การสร้างและพัฒนารูปแบบของคำถามต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการสัมภาษณ์งาน
  • การสร้างคำถามตามสถานการณ์ของการสัมภาษณ์งานเพื่อค้นหาพฤติกรรมของผู้สมัคร
  • การแก้ไขเฉพาะหน้าเมื่อสถานการณ์ของการสัมภาษณ์งานไม่เป็นอย่างที่คิด
  • สิ่งที่ควรและไม่ควรในการสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน
  • ฝึกปฏิบัติ จัดทำ Workshop และนำเสนอ

ผลที่คาดว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับ หลังการเข้าอบรมช่วงบ่าย -ผู้เรียนจะสามารถ:

  • สามารถใช้เครื่องมือที่สำคัญในการสรรหาพนักงาน
  • เข้าใจหลักในการสร้างคำถามเพื่อการสัมภาษณ์ตามแนวทางพฤติกรรม
  • เข้าใจกุญแจของความสำเร็จในการสร้างคำถามเชิงพฤติกรรม
  • สามารถที่จะสร้างคำถามและประยุกต์ไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

รูปแบบการฝึกอบรม

ใช้หลักการอบรมในรูปแบบของการเป็น Coaching ให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ Adult Learning ตามหลักที่เรียกว่า Accelerated Learning ที่มีกระบวนการที่จะทำให้ผู้เรียนรู้นั้นสามารถสร้างองค์ความรู้ที่อบรมนำไปพัฒนาได้จริงในงานของตนเอง ซึ่งสามารถแบ่งสัดส่วนของการเรียนรู้ได้และการปฏิบัติ (Workshop) ได้ ในอัตรา 50:50 กล่าวคือเป็นการบรรยายให้ความรู้ในเชิงทฤษฎีที่สำคัญและจำเป็นประมาณ 50% และ ฝึกภาคปฏิบัติ (Workshop) อีก 50% ซึ่งฝึกภาคปฏิบัติประกอบไปด้วย:

  • Group Discussion
  • Individual Assignment
  • Individual/Group Presentation
  • Role Play in Real Situation for Individual
  • Case Study

อุปกรณ์ใช้ประกอบคำบรรยาย

LCD Projector / Flip Board

 

วิทยากร : ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย (เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขาการบริหารจัดการ)

  • นักเรียนทุนด้าน “การเป็นวิทยากรด้านการบริหารจัดการ MTP: Management Training Program” จากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยไปศึกษาเรื่องบริหารจัดการจากประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 17 วัน
  • ผู้บริหารบริษัท 1 ใน 500 Fortune ของประเทศสหรัฐอเมริกา
  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตร “การเจรจาต่อรอง” และ“การเจรจาต่อรองชั้นสูง” จาก Notre Dame University, ประเทศ สหรัฐอเมริกา
  • สำเร็จการศึกษาหลักสูตร “Management Program” จาก University of San Francisco, ประเทศ สหรัฐอเมริกา
  • ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “เส้นทางนักขาย” ทาง Nation Channel
  • เจ้าของผลงานหนังสือ “เหนือชั้นการบริหาร” และ “ปลดล็อก 88 ความท้ายสำหรับผู้นำ